วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ภาษาโปรแกรม

     ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการมายาวนาน นับตั้งแต่การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาเครื่อง ที่ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 ในยุคเริ่มแรกของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ เนื่องด้วยความยากของการเขียนโปรแกรม จนมาถึงปัจจุบันภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความคลายคลึงกับภาษาอังกฤษ ทำให้การเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็ว และมีความผิดพลาดน้อยลง แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์ยังคงต้องทำงานตามคำสั่งภาษาเครื่อง เมื่อเราเขียนโปรแกรมแล้ว จึงต้องมีการแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อน

ตัวแปลภาษาโปรแกรมมี 2 ประเภท คือ
1. คอมไพเลอร์ (compiler) จะแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้ถูกต้อง จึงจะได้ผลลัพธ์เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องที่นำไปสั้งงานคอมพิวเตอร์ได้ ภาษาที่ต้องแปลด้วยคอมไพเลอร์ เช่น C,C++, Jave

2.อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter) จะแปลคำสั่งในโปรแกรมที่ละคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง ส้งให้คอมพิวเตอร์ทำงานทันทีโดยไม่ต้องรอให้แปลเสร็จทั้งโปรแกรม เช่น Python, logo

กิจกรรม การเขียนรหัสลำลองและผังงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำ


ตัวอย่าง การเขียนรหัสลำลองและผังงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำ



วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่างการเขียนรหัสลำลองและผังงานแบบมีเงื่อนไข



การกำหนดค่าให้ตัวแปร

การกำหนดค่าอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับตัวแปรสามารถทำได้ 3 วิธี

O การรับค่าจากภายนอก
O การกำหนดค่าจากค่าคงที่หรือตัวแปรอื่น
O การกำหนดค่าจากการคำนวณ

สัญลักที่นิยมใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับตัวแปร คือ ⇠ ใช้เพื่อนำค่าทางขวาของ ⇠ ไปกำหนดให้กับตัวแปรทางด้านซ้ายของ ⇠
  การตั้งชื่อตัวแปรควรตั้งชื่อให้เหมาะสมกับค่าที่เก็บในตัวแปร เช่น ตัวแปร name เก็บข้อมูลชื่อ, ตัวแปร age เก็บข้อมูลอายุ

ตัวอย่างการเขียนการรับค่าตัวแปร

x  ⇠ 2 นำค่า2 ไปใส่ในตัวแปร x

ตัวอย่างการเขียนรหัสลำลองและผังงาน


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ผังงาน

ผังงาน หมายถึง เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการวางแผนหรือออกแบบการแก้ปัญหา เฟื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติตามหรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งคอมพิวเตอณืทำงานได้ง่าย สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา
(The American Standard Institute: ANSI) ได้กำหนดสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานในการเขียนผังงานไว้
ซึ่งในที่นี้จะแนะนำการใช้งาน 5 สัญลักษณ์พื้นฐาน



คำถามชวนคิดหน้าที่ 29

ให้จัดเรียงการทำงานต่อไปนี้ เพื่อคำนวนค่าน้ำมันในการเดินทางตามระยะทางที่กำหนด

1. รับระยะทางในการเดินทาง
2. รับปริมาณน้ำมันต่อระยะทาง
3. รับค่าน้ำมัน
4. แสดงค่าน้ำมันที่ใช้

การเขียนรหัสลำลองและผังงาน

 การเขียนรหัสลำลอง หมายถึง เป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหา หรือการทำงานของโปรแกรมซึ่งรูปแบบการเขียนจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความถนัดของผู้เขียน โดยอาจเขียนเป็นภาษาพูด ทำให้เขียนง่ายไม่ต้องกังวลรูปแบบ

การเขียนรหัสลำลอง  เรื่อง การแต่งกายชุดนักเรียน

เริ่มต้น
    1. ใส่กางเกงใน
    2. ใส่เสื้อใน
    3. ใส่เสื้อทับ
    4. ใส่กางเกงทับ
    5. ใส่เสื้อนักเรียน
    6. ใส่กระโปรงนักเรียน
    7. ใส่หูกระต่าย
    8. ใส่ถุงเท้า
    9. ใส่รองเท้านักเรียน
จบ

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

ตัวอย่างที่ 2.1 การหาค่ามากที่สุดของจำนวนสามจำนวนที่กำหนดให้
   การแก้ปัญหามีขั้นตอนดังนี้
       ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
                ข้อมูลเข้า จำนวนสามจำนวน ได้แก่ a, b และ c
                ข้อมูลออกหรือสิ่งที่ต้องการ ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุดของเลขสามจำนวน
                วิธีตรวจสอบความถูกต้อง ดำเนินการหาตัวเลขที่มากที่สุดด้วยตนเอง โดยกำหนดชุด
                ตัวเลข 3 จำนวน เช่น 8, 7 และ 12 ในกรณีนี้ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด คือ 12

       ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา
              2.1  เปรียบเทียบ a และ b เพื่อหาค่ามากกว่าระหว่างสองจำนวน
              2.2  นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับ c เพื่อหาค่าที่มากกว่า
              2.3  ค่าที่มากที่สุดคือ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนที่ 2.2

       ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการแก้ปัญหา
             ดำเนินการทดสอบตา่มาขั้นตอนที่วางแผนไว้กับชุดตัวเลขที่กำหนด โดยสมมติ a, b และ c เป็น 8, 7 และ 12 ตรามลำดับ
             3.1  เปรียบเทียบเพื่อหาค่าที่มากกว่าระหว่าง 8 และ 7 พบว่า 8 เป็นค่าที่มากกว่า
             3.2  เปรียบเทียบเพื่อหาค่าที่มากกว่าระหว่าง 8 และ 12 พบว่า 12 เป็นค่าที่มากกว่า
             3.3  ค่าที่มากที่สุดของ 8, 7 และ 12 คือ 12

       ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบและปรับปรุง
             เมื่อพิจารณาคำตอบที่ได้คือ 12 กับค่าที่เหลือ ซึ่งได้แก่ 8 และ 7 พบว่า 12 มีค่ามากกว่าค่าที่เหลือทั้งคู่ คำตอบนี้จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของสิ่งที่ต้องการ
            แนวคิดข้างตนใช้งานได้เนื่องจากว่าหากพิจารณาจำนวนสามจำนวนใดๆ เมื่อ a > b และ b > c แล้ว a > c ด้วย
            จากตัวอย่างแม้ว่าเราจะไม่ได้นำค่า 12 มาเปรียบเทียบกับ 7 โดยตรง แต่เราได้นำมาเปรียบเทียบกับ 8 ซึ่ง 8 ถูกตรวจสอบมาก่อนหน้านี้แล้วว่ามากกว่า 7 เพราะฉะนั้น 12 จึงมากกว่า 7 ด้วย

ขั้นตอนการแก้ปัญหา

การแก้ปัญหาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังรูป

กาแก้ปัญหา

ทบทวนความรู้ก่อนเรียน

✅การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาหรือการทำงาน อาจเขียนเป็นข้อความที่แสดงให้เห็นการแก้
ปัญหาหรือการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอน

✅การแสดงลำดับขั้นตอนในการทำงานหรือแก้ปัญหา อาจใช้ภาพ สัญลักษณ์ ข้อความ หรือการบอกเล่า

✅หากพิจารณาลำดับขั้นตอนการทำงาน สามารถบอกถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้


ลองทำดู

1.เดินออกจากบ้าน
2.ขึ้นรถ
3.สตาร์รถ
4.ขับรถ
5.จอดรถ
6.ลงจากรถ

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

แบบฝึกหัดหน่วยที่ 3 เรื่องแนวคิดเชิงนามธรรม ชุดที่ 2

การถ่ายทอดรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหา
        การถ่ายทอดรายละเอียดนีี้ไปสู่ผู้ทีึ่จะวิเคราะห์และแก้ปัญหา ซึี่งเป็นไปได้หลายรูปแบบ หากผู้แก้ปัญหาคือบุคคลอื่น การถ่ายทอดปัญหาสามารถทำได้โดยการอธิบายเป็นข้อความและอาจใช้แผนภาพประกอบ หากผู้แก้ปัญหาคือคอมพิวเตอร์ การถ่ายทอดวิธีการแก้ปัญหาก็จะอยู่ในรูปของภาษาโปรแกรม
กิจกรรมที่ 1 
1.เส้นทางเดินจากโรงเรียนกลับบ้านใช้ระยะทางสั้นที่สุด
ตอบ  900 เมตร
2.เส้นทางเดินจากโรงเรียนกลับบ้านที่สั้นที่สุดโดยแวะร้านขนม
ตอบ 1300 เมตร
3.เส้นทางเดินจากโรงเรียนกลับบ้านที่สั้นที่สุดโดยแวะร้านขนม และเลืกเดินเฉพาะถนนที่มีร่มเงาเท่านั้น
ตอบ 2400 เมตร

หน่วยที่ 3 ความคิดเชิงนามธรรม

แนวคิดเชิงนามธรรม
แนวคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking หรือ abstraction) เป็นองประกอบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวน
(computational thinking) ซึ่งใช้ประบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อยในปัญหาหรืองานที่กำลังพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในการแก้ปัญหา

กิจกรรมที่1 แยกคุณลักษณะที่จำเป็นของปากกา
1.ไส้น้ำหมึก
2.ด้ามจับ
3.ที่กดปากกา

กิจกรรมที่2 
มีส้ม 5 กิโลกรัม มีองุ่น 7 กิโลกรัม มีน้ำมันงา 2 กิโลกรัม ชมพู่ 4 กิโลกรัม รวมมีผลไม้ทั้งหมดกี่กิโลกรัม
ข้อมูลที่จำเป็นคือ  ส้ม องุ่น ชมพู่
ข้อมูลที่ไม่จำเป็นคือ น้ำมันงา